วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

My instagram

Instagram

การออกแบบโโก้ ตราสัญลักษณ์การกันคุณการเรียนรู้ 9 สถาบัน

การออกแบบโโก้ ตราสัญลักษณ์การกันคุณการเรียนรู้ 9 สถาบัน

บทสรุปผลการเรียนวิชา ARTI3319

mascot

การออกแบบmascotในครงการน้ำดื่มสะอาด ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


โดย นางสาวชลีมาศ  ร่มโพธิื

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การดำเนินงาน gift on the moon


ขั้นตอนการทำงาน
ขั้นตอนแรก เตรียมอุปกรณ์ดังนี้
1.      กระดาษทรานเฟอร์หาซื้อได้ที่ B2S หรือร้านเครื่องเขียนชั้นนำทั่วไป
2.     คัตเตอร์ ไม่บรรทัด แผ่นรองตัด ซองพลาสติกใสขนาด 3x5 นิ้ว
3.     เสื้อยืด กระเป๋าผ้า หรือ ผ้าเช็ด

อุปกรณ์

ขั้นตอนในการเตรียมไฟล์ภาพและการพิมพ์ กำหนดเครื่องพิมพ์เป็น “กระดาษพิมพ์ลายบนเสื้อ”หรือ”t-Shirt Transfer paper” หรือกำหนดคำว่า “Reverse”หรือ “Fip Horizontal


รูปที่ แสดงถึงการปริ้นรูปที่ลงบนกระดาษ   ทรานเฟอร์

ขั้นตอนการตัดภาพ สามารถตัดภาพให้เหลือขอบได้เล็กน้อยเพื่อความสม่ำเสมอของกระดาษ 

รูปที่ 2 แสดงการไดคัตของกระดาษทรานเฟอร์

หลังจากที่ทำการไดคัตภาพเรียบร้อยแล้วเราก็จะมาทำการรีดลงบนเสื้อยืด ก่อนอื่นต้องรีดเสื้อให้เรียบก่อน จากนั้นเราค่อยๆวาง

ภาพโดยคว่ำหน้าภาพลงบนเสื้อ พอจัดวางเรียบร้อยแล้ว เราจะให้เตารีด หรือแท่นอัดผ้าเรียบก็ได้แล้วแต่ความถนัด



ภาพที่ 3,4 แสดงการจัดวางและการให้แท่นรีดผ้าทับลงบนเสื้อ



ภาพที่ 5,6 แสดงการลอกลายภาพออกจากเสื้อ

ภาพที่ 7 แสดงการรีดที่เสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์

เคล็ดลับ
1.      รอให้งานพิมพ์เย็นลงจากนั้นค่อยๆลอกแผ่นหลังออกจากผ้า โดยดึงให้มีแรงที่สม่ำเสมอกัน หลังจากพิมพ์เย็นลงแล้วงานพิมพ์จะมีเนื้อด้าน หากต้องการให้งานพิมพ์มีเนื้อมันวาว ให้นำกระดาษตารางสีแดงหรือด้านหลังของกระดาษทรานเฟอร์วางทับที่งานพิมพ์ โดยหงายขึ้นจากนั้นรีดทับอีกครั้ง
2.     คว่ำกระดาษลอกลาย รีดโดยใช้เวลาประมาณ 15-20วินาที
3.     ผ้าที่ให้ลอกลาย cotton 100% ที่จะให้รีด เช่น ผ้าฝ้าย โดยรีดด้วยระดับความร้อนสูงสุด (กรณีที่ใช้เตารีดอน้ำ ต้องปิดไอน้ำเสียก่อน)
4.     ควรซักผ้าที่จะให้รีดเสียก่อน เพื่อกำจัดผุ่นละอองรวมทั้งกัดสีผ้าตกใส่งานพิมพ์
5.     ก่อนซักครั้งแรกเมื่อติดตัวรีดเสร็จแล้ว ควรทิ้งระยะเวลาการลอกลายอย่างน้อย 24ชั่วโมง
ขั้นตอนการออกแบบ แพ็คเกจ
ขั้นตอนในการออกแบบจะใช้สีชมพูเพื่อแดงถึงความรัก ที่มีความสดใสมาใช้ในการออกแบบครั้งนี้ เราใช้โปรแกรม Adobe Illustrator 





การตกแต่ง wordpress ขั้นพื้นฐาน

Gift on the moon การออกแบบรรจุภัณฑ์สำหรับสติ๊กเกอร์ติดเสื้อ

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Transfer Paper


ปัจจุบันกระดาษทรานเฟอร์ที่ใช้กับการสกรีนเสื้อฮีตทรานเฟอร์มีอยู่หลากหลายประเภททั้งแบ่งตามลักษณะเนื้อผ้าคอตตอน เนื้อผ้าใยสังเคราะห์ หรือแบ่งตามประเภทของเครื่องพิมพ์ inkjet เครื่องพิมพ์ เลเซอร์  หรือแบ่งแยกย่อยลงไปตามประเภทเนื้อผ้าสีเข้มและเนื้อผ้าสีอ่อน การเลือกใช้กระดาษทรานเฟอร์จึงจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะกับประเภทงาน
กระดาษทรานเฟอร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ
1.กระดาษทรานเฟอร์ซับลิเมชั่น( Sublimation Transfer paper)  เป็นกระดาษที่ผลิตขึ้นมาใช้กับเนื้อผ้าใยสังเคราะห์โดยเฉพาะ  โดยนำไปพิมพ์ลวดลายผ่านเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทที่ใช้หมึกซับลิเมชั่นเท่านั้น  ลักษณะกระดาษด้านที่พิมพ์ภาพผิวสัมผัสจะอาบน้ำยาเพื่อเคลือบผิวเพิ่มคุณสมบัติในการดูดซับน้ำหมึกซับลิเมชั่นได้ดีเวลาพิมพ์ลวดลายจากเครื่องพิมพ์ลงกระดาษและช่วยให้หมึกระเหิดย้อมติดลงบนเส้นใยได้ดี  ตัวกระดาษจะมีคุณสมบัติซับหมึกพิมพ์ไว้ที่ผิวและเมื่อถูกความร้อน(นำไปเข้าเครื่องกดความร้อน) หมึกจะระเหิดออกจากกระดาษย้อมลงไปบนเส้นใยสังเคราะห์  ในกรณีที่นำมาใช้งานกับผ้าเนื้อผสมเส้นใยธรรมชาติ ส่วนที่เป็นเส้นใยธรรมชาติหมึกพิมพ์จะไม่สามารถยึดเกาะย้อมลงไปในเส้นใยได้โดยตรงทำให้ภาพหรือลายที่พิมพ์ไม่คมชัดหรือเมื่อนำไปซักลายจะหลุดออก (ขึ้นกับเส้นใยธรรมชาติที่เป็นเนื้อผสมว่ามีเปอร์เซ็นต์มากน้อยเพียงใด) ผลลัพธ์ที่ได้บนเนื้อผ้าใยสังเคราะห์ 100%  ภาพหรือลายบนเนื้อผ้าจะให้สีสว่างสดใสคมชัดตามคุณลักษณะทางเคมีของหมึกซับลิเมชั่น และผิวสัมผัสจะเป็นเนื้อเดียวกับผ้าไม่มีกรอบฟิลม์โพลิเมอร์  
                                                     
2.กระดาษทรานเฟอร์อิงเจ็ท (Inkjet Transfer paper)   กระดาษทรานเฟอร์สำหรับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ททดสอบและพัฒนาเพื่อใช้งานร่วมกับหมึกพิมพ์ประเภทพิกเมนต์(Pigment base ink)  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหมึกพิมพ์ที่มีอยู่ในเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทซึ่งจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดปัจจุบัน (สามารถอ่านเพิ่มเติมเรื่องหมึกพิมพ์ Pigment และ Dye Sulimation)  เนื่องจากเนื้อผ้าเส้นใยธรรมชาติจำเป็นต้องใช้หมึกพิมพ์สำหรับพิมพ์ผ้า (Pigment textile ink)  หมึกพิมพ์จึงสามารถย้อมและติดทนอยู่บนเส้นใยได้ดี  แต่การจะนำหมึกพิกเมนต์สำหรับพิมพ์ผ้าที่มีความเข้มข้นสูงในระดับเดียวกับงานพิมพ์ผ้ามาใช้กับเครื่องพิมพ์อิงเจ็ทมีผลเสียต่อหัวพิมพ์ซึ่งออกแบบมาสำหรับหมึกพิมพ์บนกระดาษมีผลทำให้หัวพิมพ์ตันได้ง่าย (แม้แต่ในเครื่องสกรีนเสื้อดิจิตอล DTG ความเข้มข้นของหมึกก็ยังเจือจางกว่าหมึกพิมพ์ผ้าอยู่มาก)   ทางออกของผู้ผลิตกระดาษทรานเฟอร์อิงค์เจ็ทก็คือการออกแบบชั้นฟิลม์(Polymer) ที่มีคุณสมบัติในการยึดเกาะเส้นใยผ้าขึ้นมาแทน  โดยชั้นฟิลม์จะเคลือบอยู่ที่ผิวของกระดาษทรานเฟอร์ เมื่อพิมพ์หมึกพิมพ์(ลวดลาย)ลงไปบนชั้นฟิลม์ และเมื่อนำไปกดด้วยความร้อนหมึกพิมพ์เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวซึมลงไปอยู่ภายใต้ชั้นฟิลม์หลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
ทำไมจึงต้องเป็นหมึกพิมพ์ประเภท Pigment base ink เนื่องจากองค์ประกอบทางเคมีมีความเข้ากันได้ดีระหว่างหมึกพิมพ์กับฟิลม์(โพลิเมอร์)  โดยหมึกพิมพ์จะมีเม็ดเรซิ่นเคลือบอยู่บนน้ำหมึกที่มีเนื้อสี Pigment และชั้นฟิลม์โพลิเมอร์จะมีองค์ประกอบของพลาสติกเคลือบอยู่บนกระดาษทรานเฟอร์อิงเจ็ท  เมื่อถูกความร้อนหมึกพิมพ์พิกเมนต์จะหลอมละลายและซึมลงไปอยู่ใต้ชั้นฟิลม์(ไม่เยิ้มเปรอะซึมเลอะ)รวมเป็นเนื้อเดียวกันมีลักษณะเป็นเนื้อเจล ต่างกับหมึกประเภท dye sublimation เมื่อถูกความร้อนจะระเหิดอย่างรวดเร็วไม่สามารถคงสถานะอยู่ในชั้นฟิลม์ที่เคลือบบนกระดาษ  ดังนั้นหากนำเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทที่เติมหมึกซับลิเมชั่นมาใช้กับกระดาษทรานเฟอร์อิงค์เจ็ทจะเป็นการใช้งานกระดาษทรานเฟอร์ที่ผิดประเภททำให้ได้ผลลัพธ์ในการพิมพ์ออกมาไม่ดี
จากที่กล่าวมาข้างต้นกระดาษอิงเจ็ททรานเฟอร์ทุกยี่ห้อจึงจำเป็นต้องมีชั้นฟิลม์เคลือบอยู่  และผลลัพธ์ของการพิมพ์ที่ได้คือ เมื่อพิมพ์ลายลงบนเสื้อชั้นฟิลม์ก็จะหลงเหลือเป็นกรอบสี่เหลี่ยมมัว ๆ เคลือบอยู่บนเนื้อผ้า หากผู้ใช้งานไม่ต้องการให้เกิดกรอบสี่เหลี่ยมบนเสื้อที่พิมพ์จะต้องทำการตัดพื้นที่ส่วนเกินที่ไม่ได้ถูกพิมพ์ลวดลายออก โดยใช้กรรไกร  หรือปากกาตัดสติ๊กเกอร์ หรือในรุ่นที่สามารถนำเข้าเครื่องตัดแบบ  cutter / Plotter ได้ก็จะช่วยทุ่นแรงในการตัด  
กระดาษทรานเฟอร์อิงค์เจ็ทหลายยี่ห้อนอกจากใช้กับผ้าคอตตตอนเป็นหลักแล้วยังระบุไว้ว่าสามารถใช้ได้กับผ้าเนื้อผสมหรือเส้นใยสังเคราะห์ 100% ได้ด้วย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  เนื่องจากหมึกพิมพ์ไม่ได้ถูกพิมพ์ยึดเกาะบนเส้นใยผ้าโดยตรงแต่ซึมลงไปอยู่ในชั้นฟิลม์   ตัวยึดเกาะบนเส้นใยผ้าจริง ๆ คือชั้นฟิลม์ซึ่งมีคุณสมบัติในการยึดเกาะได้ดีในทุกเส้นใยผ้าไม่จำกัดเฉพาะเส้นใยธรรมชาติ กระดาษทรานเฟอร์อิงค์เจ็ท(ส่วนใหญ่) จึงระบุให้ใช้ได้กับเนื้อผ้าทั้งเนื้อผสม เนื้อคอตตอน และเนื้อผ้าใยสังเคราะห์ 100% กระดาษทรานเฟอร์อิงค์เจ็ทยังแบ่งแยกย่อยตามประเภทของเนื้อผ้าได้อีก 2 ประเภทคือ ใช้กับผ้าสีอ่อนและกระดาษทรานเฟอร์สำหรับผ้าสีเข้ม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ 
กระดาษทรานเฟอร์สำหรับผ้าสีเข้ม

3.ระดาษทรานเฟอร์สำหรับเครื่องพิมพ์ Laser (Laser Transfer Paper) กระดาษทรานเฟอร์ใช้ร่วมกับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ เริ่มมีการผลิตและจำน่ายออกมาทีหลังเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากในอดีตย้อนไปเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว จำนวนผู้ใช้งานเครื่องพิมพ์ Laser มีปริมาณที่น้อยกว่า จะพบเห็นได้เฉพาะในออฟฟิตใช้ในสำนักงานเท่านั้น และราคาของเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่มีราคาที่สูงมาก  ณ.ปัจจุบันเมื่อราคาเครื่องพิมพ์เลเซอร์ถูกลง และองค์ประกอบทางเคมีของหมึกพิมพ์ประเภทผงหมึก(โทนเนอร์)มีความเข้ากันได้เป็นอย่างดีกับกระบวนสกรีนเสื้อแบบฮีตทรานเฟอร์  ทำให้ผู้ผลิตกระดาษทรานเฟอร์หันมาวิจัยและพัฒนาคุณสมบัติกระดาษของตนให้สามารถใช้งานได้ดีกับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ เนื่องจากผงหมึกทำมาจากเรซิ่นซึ่งมีพลาสติกเป็นองค์ประกอบทางเคมี  และมีคุณสมบัติในการยึดเกาะและกันน้ำได้ดีกว่าหมึกพิกเมนต์  อีกทั้งหลักการทำงานของเครื่องพิมพ์เลเซอร์คือการให้ความร้อนจาก Fuser ในการหลอมละลายผงหมึกเพื่อฉาบลงไปบนกระดาษ  อย่างไรก็ดีแม้ว่าคุณสมบัติของหมึกพิมพ์หรือผงหมึกเลเซอร์จะคุณสมบัติเหมาะกับงานฮีตทรานเฟอร์เพียงใดแต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะยึดเกาะบนเนื้อผ้าได้ด้วยตัวมันเอง  การยึดเกาะยังต้องอาศัยฟิลม์(โพลิเมอร์)เป็นตัวช่วยเช่นเดียวกับกระดาษทรานเฟอร์อิงค์เจ็ท ดังนั้นกระดาษทรานเฟอร์แบบเลเซอร์จึงคงต้องมีชั้นฟิลมม์โพลิเมอร์เคลือบอยู่เช่นเดียวกัน ข้อด้อยของกระดาษทรานเฟอร์แบบเลเซอร์คือจำกัดการใช้งานกับเครื่องพิมพ์เป็นบางยี่ห้อและบางรุ่นเนื่องจากกลไกของเครื่องพิมพ์เลเซอร์อาศัยหลักการให้ความร้อนเพื่อหลอมผงหมึกที่อุณหภูมิสูงและตัวกระดาษจะต้องถูกม้วนกลิ้งผ่านลูกยางความร้อน ทำให้การออกแบบกระดาษให้เข้ากันได้ดีกับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ทุกรุ่นทุกยี่ห้อเป็นไปได้ยาก แม้แต่ในยี่ห้อเดียวกันการใช้งานก็จำเป็นต้องเรียนรู้การตั้งค่ากระดาษ(ความหนา ความมัน)ให้เหมาะสม หากใช้งานไม่ถูกรุ่นหรือปรับตั้งค่ากระดาษไม่ถูกต้อง จะทำให้กระดาษติดที่ตัวให้ความร้อนในเครื่องพิมพ์(Fuser) เมื่อกระดาษติดชั้นฟิลม์บนกระดาษทรานเฟอร์จะหลอมละลายติดไปบน Fuserอาจเกิดความเสียหายกับเครื่องพิมพ์ได้

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ออกแบบโลโก้แบรนด์ เพื่อประกอบบนบรรจุภัณฑ์

ออกแบบโลโก้แบรนด์ เพื่อประกอบบนบรรจุภัณฑ์


การออกแบบโลโก้กลุ่ม





ออกแบบโลโก้แบรนด์ 
 

ออกแบบโลโก้แบรนด์ เพื่อประกอบบนบรรจุภัณฑ์ แบบที่1

ออกแบบโลโก้แบรนด์ เพื่อประกอบบนบรรจุภัณฑ์ แบบที่2








บรรจุภัณฑ์ ที่ใช้เพื่อการค้า




ชิ้นที่1 เป็นพลาสติกทรงกระบอก ขนาด  ด้านใน ใช้เป็นกระดาษหนา80แกรม

ชิ้นที่2 เป็นกระดาษแก้วกลอสซี่ ขนาด ใช้โลโก้ทำเป็นป้ายสินค้า เจาะรูเพื่อแขวน